วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อนุทินครั้งที่6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6 บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 19/กค/2556 ครั้งที่ 6 เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40 วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีดังนี้ค่ะ 1. การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา (Skill Approch) - ให้ด็กรู้จักส่วนย่อยๆของ - การประสมคำ -ความหมายของคำ -นำคำประกอบเป็นประโยค -การแจกลูกสะกดคำ การเขียน เช่น กอ-อา-กา ขอ-อา-ขา ซึ่งจากที่เราเรียนมานั้น * ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก * ไม่สอดคล้องกับลักษณการเรียนรู้ของเด็ก Kenneth Goodman -เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ -มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด -แนวทางการสอนมีพัฒนามาจากการเรียนรู้ และ ธรรมชาติของเด็ก ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย -สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว -ช่างสงสัย ช่างซักถาม -มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ชอบการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ -เลียนแบบคนรอบตัว 2. การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language ) ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ Dewey/Piaget/ Vygotsky/ Haliday -เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และลงมือกระทำ -เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเองและการใช้สัมผัสจับต้องกับสิ่ง่างๆแล้วสร้างความรู้นั้นมาด้วยตนเอง -อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นที่มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก การสอนภาษาธรรมชาติ -สอนแบบบูรณาการ/องค์รวม -สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก -สอนสิ่งใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน -สอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม -ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด -ไม่บังคับให้เด็กเขียน หลักการการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (นฤมน เนียมหอม 2540) 1. การจัดสภาพแวดล้อม -ตัวหนังสือที่ปรากฎในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ -หนังสือที่ใช้ จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบรูณ์ในตัว เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อม 2. การสื่อสารที่มีความหมาย -เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง -เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย -เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส 3.การเป็นแบบอย่าง -ครูเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน -เด็กเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก 4.การตั้งความคาดหวัง -ครูเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน -เด็กสามารถอ่าน เขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น 5.การคาดคะแน -เด็กมีโอกาสที่ทดลองกับภาษา -เด็กได้คาดเดา หรือ คาดคะแนคำที่จะอ่าน -ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมอนผู้ใหญ่ 6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ -ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก - ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก - ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 7. การยอมรับนับถือ -เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล -เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง -ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน -ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน 8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น -ให้เด็กรู้จักปลอดภัยที่ใช้ภาษา -ครูจต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จำขอความช่วยเหลือ -ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสามารถ -เด็กมีความเชื่อมันว่าตนมีความสามารถ ผู้ถ่ายทอดความรู้-----> ผู้อำนวยการ----->ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก บทบาทของครู -ครูไม่ควรคาดหวังกับเด็กเพราะแต่ละคนมีความแตกต่างกัน -ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน ให้กับเด็ก -ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกต้องของเด็ก เด็กอาจจะพูดผิด เขียนผิด ครูควรค่อยๆสอน ไม่ควรตำหนิเด็ก -ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์ การนำไปใช้ ทำให้เรารู้และเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของเด็กปฐมวัยว่าเด็กปฐมวัยมีความอยากรู้อยากเห็น อยากถาม ขี้สงสัย ครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กและมีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมกับวัย

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วัน/เดือน/ปี  05/ก.ค./2556

ครั้งที่4    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10 
                เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40


เป็นการรายงานของแต่ละกลุ่ม
 ความสำคัญของภาษา  
1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์  มนุษย์ติดต่อกันได้  เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด
2. ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน  ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน  การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน  มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน
3. ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์  และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย  เราจึงสามารถศึกษาวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆได้จากศึกษาภาษาของชนชาตินั้นๆ
4. ภาษาศาสตร์มีระบบกฎเกณฑ์  ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วยอย่างไรก็ตาม  กฎเกณฑ์ในภาษานั้นไม่ตายตัวเหมือนกฎวิทยาศาสตร์  แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของภาษา  เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ตั้งขึ้น  จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยตามความเห็นชอบของส่วนรวม
5. ภาษาเป็นศิลปะ  มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา  กระบวนการใช้ภาษานั้น มี
ระดับและลีลา  ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน  เช่น  บุคคล  กาลเทศะ  ประเภทของเรื่องฯลฯ  การที่จะเข้าใจภาษา  และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย 

กลุ่มที่ 2 ได้รายงาน เรื่อง  แนวคิดของภาษา
     เพียเจต์ (Jean Piaget : 1896-1980) นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ ได้เรียนจบปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ สาขาสัตววิทยา หลังจากที่เขาเรียนจบแล้วได้ทำงานกับนายแพทย์บีเนต์และซีโม ซึ่งเป็นผู้สร้างข้อสอบเชาวน์ เพียเจท์พบว่าคำตอบของเด็กเล็กกับเด็กโตจะตอบไม่เหมือนกัน และสรุปได้ว่า คำตอบของเด็กวัยต่างจะแตกต่างกันและไม่ควรด่วนสรุปว่าเด็กโตฉลาดกว่าเด็กเล็ก หรือคำตอบของเด็กเล็กจะผิดเสมอ
             จุดเริ่มต้นของการศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก โดยเริ่มจากลูกทั้ง 3 คนของพวกเขา เป็นหญิง 1 คน ชาย 2 คน เพียเจต์ได้บันทึกและเขียนเป็นรายงานในการสังเกตของเขาไม่เฉพาะเป็นภาษฝรั่งเศษเท่านั้นที่ทำให้เข้าใจยาก แต่เนื้อหาและสาระก็ทำให้เข้าใจยากเหมือนกัน ต่อมาได้มีคนแปลเป็นภาษาอังกฤษและสรุปให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น 
             เพียเจท์ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา โดยเขาเชื่อว่าว่าเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติตลอดเวลา และส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้

  1. กระทำ(Active)ก่อน โดยวางอยู่บนพื้นฐานที่มาแต่กำเนิด 2 ชนิด คือ
  2. การจัดและรวบรวม(Oganization) หมายถึงมีการจัดระเบียบภายในเข้าเป็นระบบ ระเบียบและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่ปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
  3. การปรับตัว(Adaptation) หมายถึงการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมให้สมดุลย์ จะประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ 2 อย่างคือ
  1. การดูดซึม (Assimilation) และ
  2. การปรับความแตกต่าง (Accommodation)
               กระบวนการดูดซึม(หรือการรับรู้)จะเกิดขึ้นก่อน คือ เมื่อเด็กปะทะสัมพันธ์กับสิ่งใดก็จะดูดซึมภาพ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่เคยประสบ รวมรวบเข้าไปอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา (Cognetive St ructure) และเมื่อได้รับประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิมก็จะปรับตัว เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสติปัญญาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เช่น แรกเริ่มเด็กเข้าใจว่าผู้ใหญ่ผมยาวและนุ่งกระโปรง แต่เมื่อเขาไปเจอผู้ชายผมยาวก็มีก็จะปรับโครงสร้างความเข้าใจอันนี้ใหม่                    กู๊ดแมน ( Goodman, 1986 อ้างถึงใน บังอร   พานทอง 2550 : 70 – 72) กล่าวถึงความหมายของการสอนภาษาแบบธรรมชาติว่าเป็นการเรียนการสอนที่เน้นการสอนภาษาอย่างมีความหมาย โดยผู้เรียนจะอาศัยประสบการณ์ของตนเองประกอบการเรียน ไม่แบ่งแยกภาษาเป็นส่วนย่อย เป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดความกล้าและมั่นใจในตนเองในการที่จะใช้ภาษา ไม่เกรงว่าจะผิด ทั้งนี้เพราะผู้สอนไม่เน้นการลงโทษเมื่อเด็กใช้ภาษาผิด แต่พยายามชี้ให้เห็นข้อบกพร่องโดยทางอ้อม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ไขตนเอง

กลุ่มที่ 3  ได้รายงาน  เรื่อง  พัฒนาทางสติปัญญา
              0-1 เดือน  ลูกกินนมแม่ทำให้ลูกได้รับความอบอุ่นจากแม่ได้อย่างเต็มที่
                2   เดือน  เริ่มทำเสียงอ้อแอ้  แสดงท่าทางดีใจเมื่อได้กินนม  เด็กจะเริ่มชันคอขึ้น  เมื่อควรอุ้มพาดบ่าหรือจับให้นอนคว่ำ เพื่อที่จะได้ส่งเสริมพัฒนาการของลูกให้ได้เร็วขึ้น
               3  เดือน  ลูกเริ่มชันคอได้ตรง  แม่อุ้มลูกในท่านั่ง  กินนมแม่อย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว  ต้องระวังหากยังไม่สามารถสบตา  นอนคว่ำชันคอไม่ได้  ก็ควรพาไปพบแพทย์


กลุ่มที่ 4 ได้รายงาน  เรื่อง  พัฒนาการด้านสติปัญญา  2- 4 ปี
              จีน  เพียเจต์  เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก สรุปไว้ว่า เราไม่ควรไปเร่งรัดให้เด็กพัฒนาจากอีกขั้นไปอีกขั้น 
**จากวิดีโอ  เด็กจะมีปฏิสัมพันธุ์ที่จะสื่อสารโต้ตอบกับบุคคลแปลกหน้าและเพื่อนได้เป็นอย่างดี


 กลุ่มที่ 5 ได้รายงาน เรื่อง  พัฒนาาดารเด็กช่วง 4-6 ปี
             เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-6 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก  ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เด็กรับรู้ และชอบสังเกต  แลชอบถามว่า ทำไม และทำไม  เด็กจะชอบฟงคำพูด ของคุณพ่อคุณแม่
              พัฒนาการทางภาษา เด็กอายุ 4 - 6 ปีบอกชื่่อ นามสกุล และที่อยู่ได้
  1. รู้จักเพศของตัวเอง
  2. ชอบถามทำไม เมื่อไร อย่างไร และถามความหมายของคำ และมักเป็นคำถามที่มีเหตุผลมากขึ้น
  3. เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์ เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์จาก 4,000 - 6,000 คำ และสามารถพูดได้ 5-6 ประโยคต่อคำ สามารถเล่าเรื่องซ้ำ 4 -5 ลำดับขั้น หรือ 4 -5 ประโยคในเรื่องหนึ่งได้
  4. เข้าใจคำถามง่ายๆ และตอบคำถามนั้นได้ แม้ในเด็กบางคนอาจจะยังพูดติดอ่าง แต่ก็สามารถแก้ไขได้
  5. ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นมาเอง ให้คนอื่นๆ ฟัง ทั้งพ่อแม่ คนรอบข้าง และเพื่อน
  6. คิดคำขึ้นมาใช้โต้ตอบกับผู้ใหญ่ได้
  7. มักให้ความสนใจในภาษาพูดของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคำแสลง หรือคำอุทาน
  8. ชอบเรื่องสนุก ตลก ชอบภาษาแปลกๆ ชอบฟังนิทานมาก และชอบฟังเพลง มักจะคอยฟังเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกัน จดจำคำศัพท์ และบทสนทนาเหล่านั้น โดยเฉพาะคำแสลงหรือคำอุทาน
  9. สามารถบอกชื่อสิ่งของในภาพที่เห็นได้ หรือเล่าเรื่องที่พ่อแม่เคยอ่านให้ฟังได้ และจะเล่นเป็นสุนัข เป็ด หรือสัตว์ต่างๆ ในเรื่องนั้น พร้อมทำเสียงสัตว์เหล่านั้นประกอบได้
  10. สับสนระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องเล่าในหนังสือเด็ก

   กลุ่มที่ 6  ได้รายงานเรื่อง ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้
             แนวคิดของทฤษฎี
 1.  สามารถเปล่ยนแปลงของบุคคลที่เป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์
 2.  ต้องอาศัยวุฒิภาวะ
             ความหมาย
คือ  การเปลี่ยนแปลงอันมีมูลมาจากการได้รับประสบการณ์และได้ปฏิบัติตนที่แตกต่างไปจากเดิม
             จุดมุ่งหมาย
- ด้านพุทธิพิสัย  เช่น สติปัญญา การเรียนรู้ การแก้ปัญหา
- ด้านเจตพิสัย    เช่น ความรู้สึกของแต่ละบุคคล
- ด้านทักษะพิสัย  เช่น  พฤติกรรมการเรียนรู้ที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ
            องค์ประกอบ
- แรงขับ  คือ จะเกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
- สิ่งเร้า  เช่น  สื่อ  อุปกรณ์  ครูผู้สอน
-  การตอบสนอง  คือ  การเคลื่อนไหวของเด็ก  การพูด 
- การสร้างแรงเสริม  
            การนำไปใช้
***จากวิดีโอ  เด็กจะสื่อสารตามความเข้าใจของเขาเอง

กลุ่มที่  7  ได้รายงานเรื่อง  วิธีการเรียนรู้
            การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย            ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  (Schemata)  เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม    และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี  2  อย่างคือ1.   การขยายโครงสร้าง (Assimilation)  คือ  การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม2.      การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)  คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม            เพียเจท์ (Piaget) เป็นผู้นำทฤษฎีนี้เน้นที่กระบวนการและเนื้อหาของการเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจท์ มองการเล่นเป็นกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา ซึ่งกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา และลักษณะของการเล่นนั้น จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน    การเล่นของเด็กจะเริ่มจากการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส ซึ่งจะมีพฤติกรรมในลักษณะที่เป็นการสำรวจจับต้องวัตถุ นับว่าเป็นการฝึกเล่นและพัฒนาการเล่นควบคู่ไปกับการพัฒนาทางสติปัญญาเป็นขั้นการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2541 : 16)            เพียเจท์ (Piaget, 1965 : 35 – 37)  ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น  4  ขั้นคือ            1.  ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage)  อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี  ในขั้นนี้เด็กจะรูจักใช้ประสาทสัมผัสทางปาก  หู  ตา ต่อสิ่งแวดล้อม  พฤติกรรมที่แสดงออกในรูปของการมีปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้า  ในระยะนี้จะสามารถจำได้ว่าวัตถุและเหตุการณ์บางอย่างเป็นอย่างเดียวกัน2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ (Pre – Operational Stage)  อายุ  2 – 7  ปี  เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจเครื่องหมายต่าง ๆ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัว สัญลักษณ์ต่าง ๆ เด็กจะสามารถสร้างโครงสร้างทางสติปัญญาแบบง่าย  ซึ่งเป็นการคิดพื้นฐานที่อาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่  สามารถแบ่งเป็น 2 ระยะคือ        2.1    ระยะก่อนเกิดความคิดรอบยอด เป็นขั้นที่เด็กชอบสำรวจ ตรวจสอบ จะสนใจว่าทำไมเหตุการณ์ต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นและเกิดได้อย่างไร จะเริ่มใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ และมีลักษณะต่าง ๆ คือ จะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  มองไม่เห็นวัตถุที่เหมือนกันอาจมีบางส่วนต่างกัน  เด็กจะเริ่มคิดอย่างมีเหตุผลเป็นแบบตามใจตัวเอง และจะตัดสินสิ่งต่าง ๆ ตามที่มองเห็น       2.2   ระยะการคิดแบบใช้ญาณหยั่งรู้ เป็นการคิดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่รวด เร็วโดยไม่คำนึงถึงรายละเอียด  การคิดและการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงไปมา  และมีลักษณะคือ เข้าใจเรื่องจำนวน  เข้าใจเรื่องความคงที่ (Conservation)  เริ่มคิดได้ว่าของบางสิ่งยังคงเดิมไม่คำนึงถึงรูปร่างและจำนวนที่เปลี่ยนไป  เข้าสังคมได้มากขึ้น เลียนแบบบทบาทต่าง ๆ ส่วนพฤติกรรมยึดตนเองเป็นศูนย์กลางจะลดน้อยลง3.ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage)  อายุ 7 – 11  ปี  เป็นขั้นที่เด็กจะสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่มองเห็น  และมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ  ได้ดีขึ้นเพราะเด็กจะพัฒนาโครงสร้างการคิดที่จะเป็นกับความสันพันธ์ที่สลับซับซ้อน เด็กในวัยนี้จะสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้นกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เด็กจะเห็นสภาพแวดล้อมว่าประกอบด้วยวัตถุและเหตุการณ์ต่าง ๆ แม้ว่าวัตถุที่มองเห็นจะเปลี่ยนไป            4.  ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage)  อายุ 11 ปีขึ้นไป  เป็นขั้นที่พัฒนาการทางความคิดของเด็กถึงขั้นสูงสุด  จะเข้าใจการใช้เหตุผลและการทดลองได้อย่างมีระบบ สามารถตั้งสมมติฐานและทฤษฎีอีกทั้งเห็นว่า ความจริงที่รู้ไม่สำคัญเท่าสิ่งที่อาจเป็นไปได้  

                กลุ่มที่  9  ได้รายงาน เรื่อง องค์ประกอบของภาษา
ภาษาทุกภาษาย่อมมีองค์ประกอบของภาษา โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ1.  เสียง
นักภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญของเสียงพูดมกกว่าตัวเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะภาษาย่อมเกิดจากเสียงที่ใช้พูดกัน ส่วนภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด คำที่ใช้พูดจากันจะประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ
2.  พยางค์และคำ
พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้
พยางค์แต่ละพยางค์จะมีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่หน้าเสียงสระ พยางค์ทุกพยางค์จะต้องมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ บางพยางค์ก็อาจมีเสียงพยัญชนะสะกดประกอบอยู่ด้วย เช่น
“ ปา”พยัญชนะต้น ได้แก่ เสียงพยัญชนะ /ป/
เสียงสระ ได้แก่ เสียงสระ /อา/
เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง /สามัญ/
ส่วนคำนั้นจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
ประโยค
3.  ประโยค เป็นการนำคำมาเรียงกันตามลักษณะโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือระบบตามระบบทางไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ
4.  ความหมาย
ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ
(1) ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน เช่น
“ กิน” หมายถึง นำอาหารเข้าปากเคี้ยวและกลืนลงไปในคอ
(2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง เช่น
“ กินใจ” หมายถึง รู้สึกแหนงใจ
“ กินแรง” หมายถึง เอาเปรียบผู้อื่นในการทำงาน

กลุ่มที่10  ได้รายงานเรื่องภาษาและธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

เป็นคลิปวีดีโอการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย 
เด็กเขาจะใช้ภาษาในความคิดและจินตนากาของเขา
ภาษาที่เด็กใช้หรือเข้าใจจะไม่มีถูกและมีผิด
บันทึกอนุทินครั้งที่ 3 

วัน/เดือน/ปี   28/มิ.ย/2556
ครั้งที่3   เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10 
               เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40
                


       **วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะทางมหาลัยได้มีการจัดกิจกรรมรับน้องใหญ่**

บันทึกอนุทินครั้งที่2

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 

วัน/เดือน/ปี   21/มิ.ย/2556
ครั้งที่2   เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10 
               เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40

  วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องภาษาว่ามีความหมายอย่างไร ทักษะทางภาษามีอะไรบ้าง สอนเกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget  และเรื่องพัฒนาการภาษาของเด็ก โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

ภาษา  หมายถึง การสื่อความหมาย
ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก
ความสำคํญของภาษา
1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
2.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
3.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4.ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
ทักษะทางภาษา
การฟัง  การพูด  การอ่าน  การเขียน
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ  Piaget
การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางด้านภาาาและสติปัญญา
กระบวนการเรียนรู้
1.(Assimilation) การดูดซึม
    เด็กได้รู้และดูดซึมภาพจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง
2.(Accommodation) การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่
    เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึม โดยการปรับตัวความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
   เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับตัวความเข้าใจจะเกิดความสมดุล (Equilibrium) ทำให้กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง

   Piaget ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด - 1 ปี
    - เรียนรู้จากประสาทสัมผัส
    - รู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว
    - สนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา

2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preopentional Stage)
2.1 อายุ 2 - 4 ปี (Preconceptual Period)
   - เด็กเริ่้มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร เล่นบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า บอกชื่อสิ่งต่างๆ รอบตัว ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์ออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหมือนตน

2.2 อายุ 4 -7 ปี (Intuitive Period)
   - ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับครอบครัว คนรอบข้าง ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
   - รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการจัดกลุ่มวัตถุสามารถเห็นความสัมพันธ์กับสิ่งของ

3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุ 7 - 11 ปี
   - แก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเป็นรูปธรรม

4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational)  อายุ 11 - 15 ปี
   - คิดอย่างเป็นระบบ
   - ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
   - เข้าใจกฏเกณฑ์ทางสังคม
   - สร้างมโนทัศน์ให้สัมพันธ์กับนามธรรม
         

               พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
               เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษา จากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อน เพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐาน
ทางภาษา กล่าวคือ เมื่อฟังแล้วก็ย่อมต้องพูดสนทนาโต้ตอบได้ การเรียนภาษาของเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ หรือตามหลักไวยกรณ์ แต่จะเป็นการเรียนรู้
จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือเป็นการสอนแบบธรรมชาติ

บันทึกอนุทินครั้งที่1

 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1


วัน/เดือน/ปี   14/มิ.ย/2556
ครั้งที่ 1   เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10 
              เวลาเข้าเรียน 13.10      เวลาเลิกเรียน   16.40


                วันนี้อาจารย์จินตนาได้พูดคุยกับนักศึกษา เกี่ยวกับวิชานี้ว่าเป็นการเรียนเรื่องที่เกี่ยวกับภาษาของเด็กปฐมวัย และอาจารย์ได้พูดถึงสิ่งที่คาดหวังว่านักศึกษาจะได้รับความรู้อะไรจากวิชานี้ เพื่อที่เราจะได้นำไปใช้ประโยชน์อย่างไร และอาจารย์ได้อธิบายเรื่องที่จะสอนให้นักศึกษารู้ ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง  และเมื่อผู้เรียนเรียน จะมีพฤษกรรม ดังต่อไปนี้

              1. เราต้องมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน
              2. ความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์เนื้อหาหรืองานที่ได้เรียน
              3. ทักษะทางปัญญา สามารถคิดและวางแผนงานให้เปนระบบได้
              4. ต้องมีทักษะในการสื่อสารภาษาอย่างถูกต้อง
              5. ทักษะวิเคราะห์ทางตัวเลข และเทคโนโลยี ซึ่งเราสามารถใช้เทคโนโลยีในการค้นคว้าสื่อสารได้
              6. การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนและเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง