วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่2

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 

วัน/เดือน/ปี   21/มิ.ย/2556
ครั้งที่2   เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10 
               เวลาเข้าเรียน 13.10       เวลาเลิกเรียน   16.40

  วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องภาษาว่ามีความหมายอย่างไร ทักษะทางภาษามีอะไรบ้าง สอนเกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget  และเรื่องพัฒนาการภาษาของเด็ก โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

ภาษา  หมายถึง การสื่อความหมาย
ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก
ความสำคํญของภาษา
1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
2.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
3.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4.ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
ทักษะทางภาษา
การฟัง  การพูด  การอ่าน  การเขียน
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ  Piaget
การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางด้านภาาาและสติปัญญา
กระบวนการเรียนรู้
1.(Assimilation) การดูดซึม
    เด็กได้รู้และดูดซึมภาพจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง
2.(Accommodation) การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่
    เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึม โดยการปรับตัวความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
   เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับตัวความเข้าใจจะเกิดความสมดุล (Equilibrium) ทำให้กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง

   Piaget ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด - 1 ปี
    - เรียนรู้จากประสาทสัมผัส
    - รู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว
    - สนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา

2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preopentional Stage)
2.1 อายุ 2 - 4 ปี (Preconceptual Period)
   - เด็กเริ่้มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร เล่นบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า บอกชื่อสิ่งต่างๆ รอบตัว ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์ออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหมือนตน

2.2 อายุ 4 -7 ปี (Intuitive Period)
   - ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับครอบครัว คนรอบข้าง ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
   - รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการจัดกลุ่มวัตถุสามารถเห็นความสัมพันธ์กับสิ่งของ

3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุ 7 - 11 ปี
   - แก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเป็นรูปธรรม

4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational)  อายุ 11 - 15 ปี
   - คิดอย่างเป็นระบบ
   - ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
   - เข้าใจกฏเกณฑ์ทางสังคม
   - สร้างมโนทัศน์ให้สัมพันธ์กับนามธรรม
         

               พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
               เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษา จากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อน เพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐาน
ทางภาษา กล่าวคือ เมื่อฟังแล้วก็ย่อมต้องพูดสนทนาโต้ตอบได้ การเรียนภาษาของเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ หรือตามหลักไวยกรณ์ แต่จะเป็นการเรียนรู้
จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือเป็นการสอนแบบธรรมชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น